เคล็ดลับสำคัญการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด
กลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing Strategy) หมายถึง แผนหรือกรอบที่องค์กรได้กำหนดขึ้นเพื่อกำหนดทิศทาง และการดำเนินการในการเข้าถึงตลาดเป้าหมาย และในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยตั้งเป้าหมายที่ต้องการเพื่อที่จะบรรลุผลประกอบการทางธุรกิจ และออกแบบการดำเนินการที่จะช่วยให้เข้าถึงเป้าหมายนั้นๆ
8 เทคนิคการเขียนแผนการตลาดสุดปัง เพื่อพิชิตยอดขาย!
การตลาดเป็นหัวใจของธุรกิจทุกประเภท ซึ่งในการมีแผนการตลาดที่รอบคอบ เป็นระบบจึงสำคัญอย่างยิ่ง แผนการตลาดที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจสามารถตั้งเป้าหมาย วางกลยุทธ์ และวัดผลอย่างมีประสิทธิภาพ
ความเข้าใจในธุรกิจ
ก่อนที่จะเริ่มเขียนแผนการตลาด จำเป็นต้องเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง ว่าธุรกิจของคุณมีขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่นั่นหมายถึงคุณต้องรู้ว่าธุรกิจของคุณมีความแตกต่างอย่างไร และมีคุณสมบัติที่แตกต่างอย่างไรจากคู่แข่ง เช่น จุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจที่จะใช้เป็นประโยชน์ในการวางแผนการตลาด
2. วิเคราะห์ภาวะตลาด
การวิเคราะห์ภาวะตลาดเป็นกระบวนการที่ธุรกิจจะสำรวจ และวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกธุรกิจเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน ลึกซึ้งเกี่ยวกับตลาดที่ทำธุรกิจ เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพในการกำหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการตลาด รวมถึงการรับประกันว่าธุรกิจจะสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนและเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ภาวะตลาดมักจะประกอบด้วย
วิเคราะห์ SWOT
- Strengths (จุดแข็ง) : เป็นการระบุความสามารถ ทรัพยากร และข้อได้เปรียบที่องค์กรมีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจหรือการแข่งขันกับคู่แข่ง
- Weaknesses (จุดอ่อน) : จุดที่องค์กรยังมีข้อจำกัด หรือความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดปัญหา หรือส่วนที่อาจนำไปสู่การเสียเปรียบต่อคู่แข่ง
- Opportunities (โอกาส) : เป็นการระบุสถานการณ์ เหตุการณ์ หรือเทรนด์ภายนอกที่สามารถนำไปสู่การเจริญเติบโตขององค์กร หรือสามารถนำไปสู่การขยายธุรกิจ
- Threats (อุปสรรค): การระบุปัจจัยภายนอกที่อาจเป็นอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กร
วิเคราะห์ PESTEL
- Political (P - การเมือง) : ประกอบด้วยปัจจัยเช่น นโยบายของรัฐบาล ความเสถียรภาพของระบบการเมือง กฎระเบียบที่มีผลต่อธุรกิจ หรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- Economic (E - เศรษฐกิจ) : ประกอบด้วยปัจจัย เช่น การเติบโตของเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ อัตราการเงินแลกเปลี่ยน หรือระดับการว่าจ้าง
- Sociocultural (S - สังคมและวัฒนธรรม) : ประกอบด้วยปัจจัย เช่น รูปแบบการใช้ชีวิต วัฒนธรรม ค่านิยม หรือแนวโน้มของประชากร
- Technological (T - เทคโนโลยี) : ประกอบด้วยปัจจัย เช่น การพัฒนาเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา หรือการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในธุรกิจ
- Environmental (E - สิ่งแวดล้อม) : ประกอบด้วยปัจจัย เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- Legal (L - กฎหมาย) : ประกอบด้วยปัจจัย เช่น กฎระเบียบหรือข้อบังคับที่มีผลต่อธุรกิจ หรือการมีกฎหมายใหม่ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
3. การกำหนดเป้าหมาย
กำหนดเป้าหมายที่เป็น SMART
- S (Specific) : เป้าหมายควรเป็นเรื่องที่เจาะจงและชัดเจน
- M (Measurable) : เป้าหมายควรสามารถวัดได้ และมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน
- A (Achievable) : เป้าหมายควรเป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้จริง โดยอาศัยทรัพยากรและสถานการณ์ปัจจุบัน
- R (Relevant) : เป้าหมายควรสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ของธุรกิจ
- T (Time-bound) : เป้าหมายควรมีกำหนดเวลาเพื่อให้มีความรวดเร็ว
4. การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Target Market) เป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญในการเขียนแผนการตลาด โดยจะแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็นหมวดหมู่ตามความต้องการ พฤติกรรมการซื้อ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เพศ อายุ รายได้ ศาสนา ฯลฯ ดังนั้นการระบุกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนและทำการตลาดได้มีประสิทธิภาพและแม่นยำยิ่งขึ้น
5. การสร้างกลยุทธ์
การสร้างกลยุทธ์ในการวางแผนการตลาดโดยอาศัยหลัก 5P ประกอบด้วย
- ผลิตภัณฑ์ (Product) : หมายถึง สิ่งที่องค์กรนำเสนอในตลาด ต้องสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการ และวัตถุประสงค์ของตลาดเป้าหมาย รวมถึงการกำหนดคุณลักษณะ การออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ แบรนด์ และความแตกต่างของผลิตภัณฑ์
- ราคา (Price) : การกำหนดราคาให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการต้องพิจารณาต้นทุนในการสั่งผลิตกล่อง การแข่งขัน ความสามารถในการซื้อ และกำไรที่ต้องการ
- สถานที่จัดจำหน่าย (Place) : หมายถึง การจัดจำหน่าย หรือ ช่องทางที่จะนำสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า ต้องทำให้สินค้าสามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกสบายสำหรับลูกค้า
- การส่งเสริมการขาย (Promotion) : หมายถึง วิธีการที่ใช้ในการสื่อสารกับตลาด เช่น การโฆษณา การส่งเสริมการขาย หรือ การประชาสัมพันธ์
- บุคลากร (People) : เน้นในส่วนของบุคลากรขององค์กร การเทรนนิ่ง การพัฒนา และการปฏิบัติงานที่มีผลต่อการให้บริการแก่ลูกค้า เน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีสำหรับลูกค้า
6. การวางงบประมาณ
การวางงบประมาณในแผนการตลาดเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องใช้ความรอบคอบ และคำนึงถึงหลายปัจจัย การมีงบประมาณที่เหมาะสมจะทำให้แผนการตลาดมีประสิทธิภาพ สามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ โดยก่อนที่จะมีการกำหนดกิจกรรมทางการตลาดควรมีการตรวจสอบราคาต่างๆ และคำนวณงบประมาณที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมทางการตลาดแต่ละประเภท เช่น กล่องบรรจุภัณฑ์ โฆษณาออนไลน์ งานแสดงสินค้า และกิจกรรมโปรโมชั่น ในส่วนการจัดสรรงบประมาณต้องจัดสรรงบประมาณตามลำดับความสำคัญ โดยการตัดสินใจว่ากิจกรรมทางการตลาดประเภทไหนควรได้งบประมาณมากหรือน้อย
7. ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (Key Performance Indicators หรือ KPIs) ในแผนการตลาดเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ของแผนการตลาดว่าสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยตัวชี้วัดเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาแผนการตลาดในอนาคต
ตัวอย่างของตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (KPIs) ที่ใช้ในการวัดผลแผนการตลาด
- ยอดขาย : การวัดความสำเร็จในการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการ
- ROI (Return on Investment) : การประเมินว่าการลงทุนในการตลาดมีผลตอบแทนเป็นอย่างไร
- Conversion Rate : ร้อยละของผู้เข้าชมที่ทำการซื้อหรือทำตามการเรียนเชิญ (เช่น ลงทะเบียนเป็นสมาชิก การดาวน์โหลด หรือการสมัครที่เสียค่าบริการ)
- Traffic Source : ที่มาของการเข้าชมที่ได้รับจากช่องทางต่าง ๆ เช่น การค้นหา โซเชียลมีเดีย การอ้างอิงจากเว็บไซต์อื่น และโฆษณา
- Net Promoter Score (NPS) : วัดระดับความพึงพอใจของลูกค้าและความเป็นไปได้ที่จะแนะนำแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์นั้นให้กับผู้อื่น
8. การประเมินและปรับปรุงหลังจากที่แผนการตลาดได้รับการนำไปปฏิบัติแล้ว ควรมีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบความคืบหน้าและ ให้แน่ใจว่ามีการดำเนินการตามแผนการตลาดอย่างครบถ้วน และทำการปรับปรุงแผนการตลาดเพื่อความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงในสภาวะตลาดและยังสามารถเติบโตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ