ปัญหาสำคัญในการพิมพ์กล่องที่พบบ่อย
การพิมพ์เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนและต้องเลือกใช้วัสดุ, อุปกรณ์, และเทคนิคที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ แต่อย่างไรก็ตาม, หลาย ๆ ปัญหาสามารถเกิดขึ้นได้ในกระบวนการพิมพ์กล่องอาหารเสริม หรือกล่องบรรจุภัณฑ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพของงานพิมพ์ ดังนั้น, การทราบถึงปัญหาหลักทางการพิมพ์จึงมีความสำคัญในการปรับปรุงและหาวิธีการแก้ไขปัญหาให้ดียิ่งขึ้น
9 ปัญหาในการพิมพ์กล่อง ที่เกิดขึ้นได้บ่อย
1. หมึกพิมพ์ไม่สม่ำเสมอ
สาเหตุ
- เกิดจากการรองหนุน
- เกิดจากลูกกลิ้งหมึก หรือ ลูกกลิ้งน้ำ
- การจ่ายหมึกของช่างพิมพ์
- ความสกปรกของน้ำยาฟาวน์เทน
- ความร้อนของหมึกพิมพ์
- การสะสมของหมึกบนผ้ายาง
- การปรับตั้งแรงกดของลูกกลิ้งหมึก และลูกกลิ้งน้ำ
วิธีแก้ไข : - ตรวจเช็คการรองหนุน ให้ได้ตามมาตรฐานเครื่องอยู่เสมอ และ ตรวจสอบความหนาของกระดาษรองหนุน
- ตรวจสภาพของลูกกลิ้งน้ำ และลูกกลิ้งหมึกอยู่เสมอ หรือเก็บสถิติการใช้งาน และทำการเปลี่ยนล่วงหน้า
- ฝึกอบรมช่างพิมพ์ หรือทำมาตรฐานการทำงานให้แก่ช่างพิมพ์ และตรวจสอบแสงไฟที่โต๊ะดูงานพิมพ์
- ตรวจสอบแรงกดของลูกกลิ้งยางที่สัมผัสกับแม่พิมพ์ทุกอาทิตย์
- ตรวจสอบค่าความเป็นกรด-ด่าง หรือค่า Conductivity อยู่เสมอ และ เก็บสถิติอายุการใช้งานของน้ำยาฟาวน์เทน เพื่อทำการเปลี่ยนล่วงหน้า
- ตรวจสอบงานพิมพ์กล่อง, ตรวจสอบหมึกพิมพ์ และความร้อนของชุดหมึก ถ้าพบปัญหาให้เปลี่ยนหมึกพิมพ์ หรือเพิ่มชุดหล่อเย็นให้เครื่องพิมพ์
- ไม่ควรพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์โดยไม่ล้างผ้ายางเป็นจำนวนมากๆ เพราะหมึกพิมพ์จะสะสมบนผ้ายางทำให้ประสิทธิภาพการถ่ายทอดหมึกลดลง
2. พิมพ์กล่องไม่ตรง พิมพ์เหลื่อม
สาเหตุการพิมพ์กล่องเหลื่อม : เกิดจากกระดาษ
- ตัดกระดาษไม่ได้ฉาก
- กระดาษยืด ใช้น้ำเยอะ
วิธีแก้ไขการพิมพ์กล่องเหลื่อม :
- ในการตัดกระดาษทุกครั้งต้องกระทุ้งกระดาษให้เรียบ และต้องคอยสุ่มตรวจฉากของกระดาษ
- ในการพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ควรนำกระดาษมาพักที่ห้องพิมพ์ก่อน
- ใช้น้ำในการพิมพ์ให้น้อยที่สุด เพื่อไม่ให้กระดาษยืด
สาเหตุการพิมพ์กล่องอาหารเสริมไม่ตรง : เกิดจากการปรับตั้งเครื่องพิมพ์
- ใส่แม่พิมพ์ไม่ตรง หรือเอียงแม่พิมพ์มากจนเกินไป
- ปรับตั้งฉากกำกับกระดาษไม่ดี ทำให้เกิดอาการฉากเด้งได้
- กริ๊ปเปอร์จับกระดาษไม่แน่น
- กระดาษสลับเกรน
วิธีแก้ไขการพิมพ์กล่องอาหารเสริมไม่ตรง :
- ควรใส่แม่พิมพ์ให้ถูกวิธี, ถ้าใช้เพลทเก่า ควรตรวจสอบความตรงของเพลท
- การปรับตั้งฉากข้าง กระดาษไม่ควรห่างฉากเกิน 0.5 ซม.
- ล้างทำความสะอาดกริ๊ปเปอร์ ทุกตำแหน่งอย่างน้อย 4-6 เดือนครั้ง
- ตรวจสอบเกรนกระดาษก่อนพิมพ์ทุกครั้ง
3. ซับหลัง
สาเหตุ :
- ปล่อยหมึกหนาจนเกินไป
- หมึกพิมพ์แห้งช้า
- ตั้งกระดาษสูงเกินไป
- ใช้แป้งพ่นไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข :
- ปล่อยหมึกให้น้อยลง หรือใช้หมึกที่ เป็น Hi pigment
- ตรวจสอบน้ำยาฟาวน์เทน และหน่วยทำแห้ง
- ตรวจสอบการตั้งกระดาษก่อนเริ่มพิมพ์จริง
- ใช้แป้งให้เหมาะสมกับงานและกระดาษ
- ทำ UCR (Under Color Removal) เป็นเทคนิคที่ใช้ในกระบวนการเตรียมงานพิมพ์โดยเฉพาะในระบบสีCMYK เพื่อลดปริมาณการใช้หมึกพิมพ์
4. หมึกถอนผิวกระดาษ
สาเหตุ :
- เกิดจากหมึกเหนียวเกินไป ทำให้ดึงขี้กระดาษ และขลุยหน้าจากหน้ากระดาษออกมา
- สารเคลือบหน้ากระดาษหลุดออกมา
วิธีแก้ :
- ทำการฟอกลูกหมึกสีฟ้า เพื่อเอาขลุยกระดาษที่ติดออกให้หมด
- ใส่คอมปาวน์เพื่อให้หมึกเหลวลง ถ้าไม่พอ หรือถ้ายังมีปัญหาอยู่ให้ใส่เพิ่มอีก แต่ต้องสังเกต
- บริเวณสกรีนของภาพด้วยว่าบวมมากขึ้นหรือไม่
- ตรวจสอบหน้ากระดาษก่อนเข้าฝ่ายผลิต
5. หน้ากระดาษที่สั่งพิมพ์กล่องพอง
สาเหตุ :
- หน้ากระดาษไม่ทนการดึงของหมึก
- หมึกเหนียวเกินไป
การแก้ไข :
- ให้ใส่คอมปาวน์ลงไปในหมึก เพื่อจะได้ลดความเหนียวของหมึกลง
- ให้ลดแรงกดพิมพ์ระหว่างโมผ้ายางกับโมกดพิมพ์ (ให้ กว้างขึ้น)
6. พิมพ์พื้นตายแล้วไม่เรียบ
สาเหตุ :
- ใช้น้ำในการพิมพ์เยอะเกินไป
- รองหนุนน้อยเกินไป
- ใช้ผ้ายางให้เหมาะสมกับงานพิมพ์
วิธีแก้ไข :
- ในการพิมพ์สีพื้นไม่ควรใช้น้ำมากเกินไป
- ตรวจสอบแรงหนุน และแรงกดของเครื่องพิมพ์
- ใช้ผ้ายางไม่เหมาะสมกับงานพิมพ์ ควรมีผ้ายางให้เลือกใช้หลายชนิด
7. ซ้อนเงา
สาเหตุ :
- ใส่เพลทไม่แน่น
- ปล่อยหมึกมากเกินไป
- น้ำยาฟาวน์เทนไม่เหมาะสม
- กริปเปอร์จับกระดาษไม่แน่น
วิธีแก้ไข :
- ตรวจสอบการใส่แม่พิมพ์ และผ้ายางทุกครั้ง
- ปล่อยหมึกและน้ำให้สัมพันธ์กัน ไม่มากจนเกินไป
- น้ำยาฟาวน์เท่นที่เหมาะสมกับการ พิมพ์งานเจาะขาวเล็ก ๆ ควรจะมีความ เป็นกรดต่ำ
- หมั่นตรวจสอบ และทำความสะอาด บำรุงรักษากริ๊ปเปอร์เสมอ
8. รอยขีดข่วน
สาเหตุ : ตรวจสอบสาเหตุที่ทำให้เกิดรอย
- ชุดปล่อยกระดาษ
- ชุดส่งต่อกระดาษ
- กระดาษค้างใต้เครื่อง
- เหล็กกั้นกระดาษภายในเครื่อง
- ชุดลองรับกระดาษ
- เกรนกระดาษ
วิธีแก้ไข :
- ต้องหาสาเหตุของปัญหาให้เจอก่อน
- แก้ไขตามจุดที่ทำให้เกิดปัญหา
9. หัวหนัก-ท้ายเบา
สาเหตุ :
- ลูกกลิ้งหมึกพิมพ์
- ระยะการส่ายของลูกส่าย
- รองหนุนไม่ถูกต้อง
- บ่าโมสึก
วิธีแก้ไข :
- ทำความสะอาด และตรวจสอบความสึกหรอของลูกกลิ้งหมึก
- ระยะการส่ายผิด ต้องตั้งระยะสายใหม่
- วัสดุรองหนุน และตำแหน่งในการ หนุน
- การทำความสะอาดไม่ถูกวิธี หรือไม่ ทําความสะอาด
การทราบถึงปัญหาเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการพิมพ์มีการวางแผนและค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้การพิมพ์มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น